Wednesday November 13, 2024
News Feeds:
โครงการจัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน PDF Print E-mail

 

โครงการจัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ภายใต้การดำเนินงานของ

โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (The Anti-Labour Trafficking Project : ALT)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights and Development Foundation : HRDF)

 

วัตถุประสงค์ของโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน:

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้จัดทำโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มีวัตถุประสงค์หลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์รวมถึงคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยการเผยแพร่ อบรม และให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยการดำเนินคดีทั้งในทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้กระทำความผิด

มูลนิธิมีโครงการจัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยจะร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพัฒนาคู่มือดังกล่าว และนำคู่มือดังกล่าวมาจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยสาระสำคัญของคู่มือจะมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจเพื่อปฏิบัติงานต้องตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนการดำเนินการลักษณะสหวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือ:

         ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กฎหมายดังกล่าวมีบทบัญญัติทั้งการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด รวมถึงการฟื้นฟูและเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งกระบวนการทำงานให้ต้องตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องอาศัยการบูรณาการของสหวิชาชีพ โดยปฏิบัติงานตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง ในทางปฏิบัติจึงยังคงเกิดปัญหาในการประสานงานตามบทบาทของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประสานงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม

         การค้ามนุษย์โดยการบังคับใช้แรงงงานหรือบริการนั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากผู้เสียหาย ซึ่งการค้ามนุษย์ด้านแรงงานแบ่งออกเป็นหลายลักษณะ อาทิ บังคับใช้แรงงานทั่วไป แรงงานเด็ก แรงงานสตรี แรงงานคนทำงานในบ้าน แรงงานในโรงงาน แรงงานภาคเกษตร แรงงานภาคประมง เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจำเป็นต้องมีคู่มือเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานลักษณะสหวิชาชีพ และการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงานซึ่งมีหลายลักษณะดังกล่าว

 

ขอบเขตเนื้อหาคู่มือ :

         มุ่งเน้นการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ทั้งกระบวนการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด และกระบวนการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย โดยพิจารณาจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง:

-       หน่วยราชการ กล่าวคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการ

กระทำความผิดค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการ  ศาล กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า  ทหารเรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

-       เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 200 คน

 

ระยะเวลาดำเนินการ:

พฤศจิกายน 2553 ถึงกันยายน 2555

กระบวนการจัดทำ:

1.       เชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเข้าร่วมเป็น

ภาคีในการพัฒนาจัดทำคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

2.       การจัดทำคู่มือ

2.1.  จัดประชุมสหวิชาชีพเพื่อจัดทำร่างคู่มือ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่จากองค์กรภาคีผู้

ร่วมจัดทำคู่มือ2 ครั้ง

2.2.  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 3 ครั้ง เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือ

2.3.  จัดประชุมสหวิชาชีพเพื่อจัดทำร่างคู่มือฉบับสมบูรณ์

2.4.   จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขร่างคู่มือครั้งสุดท้าย ก่อนจัดพิมพ์

2.5.  จัดพิมพ์คู่มือ 500 เล่ม เพื่อเผยแพร่

2.6.  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 3 ครั้ง

 

พื้นที่ดำเนินการ:

-       กรุงเทพมหานคร

-       อำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

-       จังหวัดสงขลา

-       จังหวัดระนอง

-       จังหวัดเชียงใหม่

-       อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

1.     สร้างคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสำหรับ

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

2.     เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะการทำงานสหวิชาชีพในการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้าน

แรงงาน ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม

 

สนับสนุนงบประมาณจาก :

         American Center for International Labor Solidarity (Solidarity Center : SC)

 

 
Copyright © 2024. Anti Labor Trafficking - โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน.