Saturday April 20, 2024
News Feeds:
ศาลอาญาสั่ง สตม. ปล่อยเเรงงานพม่าเหยื่ออุบัติเหตุที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมายทันที พร้อมจ่ายค่าเสียหาย หลังถูกควบคุมตัว 16 วัน PDF Print E-mail
Wednesday, 16 February 2011 14:23

วันนี้ เวลา15.00น.ศาล อาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้ยกฎหมาย หลังจากนายวสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ทนายผู้ร้องคดีและมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ผู้ได้ รับมอบอำนาจจากนายชาลี ดีอยู่ ในฐานะพยาน ร้องต่อศาลให้มีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลีทันที และเรียกร้องค่าเสียหายจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2554วันนี้ เวลาประมาณ15.00น.ศาลได้สั่งให้ สตม. ปล่อยตัวนายชาลีทันที เเละจ่ายค่าเสียหายจำนวน 3,000 บาท

 

นายชาลี ดีอยู่ อายุ 33ปี เเรงงานข้ามชาติชาวพม่า ประสบอุบัติเหตุขณะทำงานจนบาดเจ็บสาหัส ถึงขั้นต้องผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมาแขวนไว้นอกช่องท้อง และกระดูกสะโพกขวาหัก เเละนายจ้างทอดทิ้ง นายชาลีถูกเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลของรัฐเเห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานีเเจ้งจับเเละถูกนำไปควบคุมที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เพื่อรอการผลักดันกลับประเทศพม่า มสพ. จึงร้องขอ สตม.จึง ได้ส่งตัวนายชาลีไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลตำรวจ เเต่นายชาลียังคงถูกควบคุมตัวไว้ในห้องคนไข้ที่เป็นห้องขัง ในช่วงเเรกเจ้าหน้าที่ตำรวจล่ามโซ่ขานายชาลีไว้กับเตียง จนองค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องต่อสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ (สตช.)นายชาลีจึงได้รับการปลดโซ่ จากนั้น มสพ. ได้ตรวจสอบพบว่าใบอนุญาตทำงานของนายชาลียังไม่หมดอายุ มสพ. จึงส่งหนังสือขอให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้ถอนอายัดตัวนายชาลี เเต่ไม่เป็นผล มสพ. ใน ฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายชาลี จึงร้องเรียนไปยังสภาทนายความ ต่อมาจึงยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เพื่อมีคำสั่งปล่อยตัวดังกล่าว

นายวสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ เเละทนายความในคดีน้ี กล่าววันนี้ว่า “กรณีของชาลีเเสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่บางคน ยังใช้อำนาจโดยมิชอบระหว่างการจับกุมเเละกักขัง โดยเฉพาะกับเเรงงานข้ามชาติ เสรีภาพของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่่ว่าจะเป็นกรณีคนไทย หรือคนต่างชาติ เจ้าหน้าที่ควรตรวจสอบเเละประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันให้ ถี่ถ้วน”

นายสมชาย หอมลออ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา กล่าวหลังจากศาลมีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลีวันนี้ว่า “กรณี นี้เเสดงให้เห็นความบกพร่องของระบบการจัดการเเรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยเฉพาะระบบคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติ การรักษา เเละระบบกองทุนเงินทดเเทน เเรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานยังไม่ได้รับการคุ้มครอง เเละตกหล่นจากระบบคุ้มครองของรัฐกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่โดยหลักแล้วต้องคุ้มครองเเรงงานทุกคนในประเทศไทย รัฐบาลยังปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดเเทน เเม้องค์การเเรงงานระหว่างประเทศ ผู้รายงานพิเศษเเห่งองค์การสหประชาชาติเรื่องเเรงงานข้ามชาติ เเละ ผู้รายงานพิเศษเรื่องการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย ได้ทักท้วงมาตลอด”

ทั้งนี้ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่ง ประเทศไทย (WEPT)ได้ ริเริ่มตั้งกองทุน เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลนายชาลี จำนวน70,000 บาท นางสมบุญ สีคำดอกเเค ประธานสภาเครือข่ายฯ กล่าวว่า “ใน เมื่อกองทุนหลักประกันสุขภาพสำหรับเเรงงานข้ามชาติ ของกระทรวงสาธารณสุข กองทุนเงินทดเเทน ของกระทรวงเเรงงาน เเละนายจ้าง ยังไม่มีใครรับผิดชอบค่ารักษาของนายชาลี กลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานไม่อาจดูดายได้ จึงพยายามรวบรวมเงินเพื่อช่วยเหลือนายชาลีต่อไป”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
สมชาย หอมลออ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา: +66 818 995476 (ภาษาไทยและอังกฤษ)
วสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ: +66 898 250398 (ภาษาไทยเเละอังกฤษ)
ญาดา หัตถธรรมนูญ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา: +66 891 309757 (ภาษาไทยและอังกฤษ)
สมบุญ สีคำดอกเเค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย: + 66 81 813 2898 (ภาษาไทย)
อานดี้ ฮอลล์ ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา: +66 846 119209 (ภาษาอังกฤษและไทย)

 

 
Copyright © 2024. Anti Labor Trafficking - โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน.