Saturday April 20, 2024
News Feeds:
ปลัดแรงงานรับความเห็นกลุ่มแรงงานประมงหาทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานย้ำขอให้ผู้ประกอบการประมงให้ความร่วมมือจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวภายในห้วงเวลาแก้ไขปัญหาเน้นจุดยืนเปิดประตู-ปิดหน้าต่างสู่การจัดระบบแรงงานต่างด้าวยั่งยืน PDF Print E-mail
Tuesday, 19 July 2011 07:00

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมรับฟังความเห็นผู้แทนกลุ่มกิจการประมงและต่อเนื่องประมงทะเล ถือสภาพปัญหาการจดทะเบียนขออนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชา ปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานไทยที่ไม่นิยมทำงานประเภทนี้ และแรงงานต่างด้าวฯ เนื่องจากลักษณะงานมีความยากลำบาก มีช่วงเวลาที่อยู่ในทะเลนาน มีความเครียดสูง เป็นที่มาของการไม่ต้องการทำงานในทะเลของกลุ่มแรงงานไทย การแก้ไขในภาวะปัจจุบันจึงต้องพึ่งแรงงานต่างด้าวเป็นส่วนมาก ทำให้นายจ้างในกิจการประมงจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวทั้งที่เป็นแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานอย่างถูกต้องและใช้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองด้วย

นายมงคล สุขเจริญคณา  นายกสมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม นำเสนอสภาพปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลและต่อเนื่องประมง ทะเล  ว่า สภาพปัญหามีมานานแล้ว ไม่ว่าจะมีการจดทะเบียนกี่ครั้งก็ยังไม่สามารถแก้ไขเงื่อนปมของปัญหาได้มี หลายหน่วยงานของภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ แต่อย่างไรก็ตาม  ขอชื่นชมกระทรวงแรงงานว่าเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดในการทำงาน ใส่ใจในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวฯและรู้ถึงสภาพปัญหาอย่างแท้จริง ปัญหาที่ผู้ประกอบการประมงไทยประสบอยู่มีประเด็นหลัก ๆคือ  แรงงานในภาคกิจการนี้มีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา บางครั้งจดทะเบียนแล้ว  ออกเรือแต่พอกลับเข้าฝั่ง แรงงานส่วนนี้ก็หลบหนีไป  ในขณะที่มีเปิดจดทะเบียนเพียงแค่ปีละครั้งทำให้เกิดการขาดแรงงานในช่วงออก เรือจึงกลายเป็นปัญหาการลักลอบจ้างงานแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่าง ผิดกฎหมายหรือแรงงานเถื่อน ปัญหาส่วยแรงงาน การขาดแคลนแรงงานสิ่งหนึ่งที่สะท้อนภาพคือ แม้แต่สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ( BOI ) ยังต้องการใช้แรงงานต่างด้าว รวมถึงปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ที่ทำให้ส่งผลต่อกิจการประมงและภาพรวมทาง เศรษฐกิจของประเทศ  จึงอยากขอให้ภาครัฐพิจารณาในเรื่องการหาแรงงานทดแทนซึ่งเป็นหัวใจหลักในการ ขับเคลื่อนกิจการอย่างต่อเนื่อง  เพราะผู้ประกอบการไม่อยากจะกระทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น


นายกิตติ โกศลสกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดตราด เพิ่ม เติมความเห็น  เงื่อนเวลาในการเปิดอนุญาตจดทะเบียนเพียงช่วง 2-3 เดือนนั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากกิจการประมงจะต้องออกเรือไปไกล บางรายต้องเจอปัญหาจากมรสุมไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาจดทะเบียนได้ทัน จึงอยากเสนอในสองประเด็น คือ ให้มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวฯตลอดปี ซึ่งรัฐจะได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีมากขึ้นและแก้ไขปัญหาการลักลอบจ้าง แรงงานเถื่อน ประเด็นที่สองคือยกเว้นการเอาผิดกับผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวผิด กฎหมายในขณะนี้ เพื่อเป็นการลดปัญหาส่วยแรงงานและลดระบบอุปถัมภ์แรงงานที่ผิดกฎหมายฝ่ายปราบ ปรามต้องมีการตรวจจับและผลักดันอย่างจริงจัง หากแรงงานที่ผิดกฎหมายต้องการทำงานจริงทำอย่างไรที่จะหาแนวทางจัดระบบให้ เข้ามาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน  เพราะผลักดันออกก็ต้องมีการลักลอบเข้ามาอีก

นายสมเกียรติฯ เน้นย้ำว่าการขึ้น ทะเบียนที่หมดเขตลงในวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนกิจการประมงนั้น  มีการนำเอกสารมาขึ้นทะเบียนในช่วงดังกล่าว  แล้วมีช่วงเวลาที่นำแรงงานต่างด้าวมาดำเนินการภายใน 150 นั้น เป็นเงื่อนเวลาตามที่รัฐบาลผ่อนผัน จึงอยากให้ทางสมาคมประมงแห่งประเทศไทยช่วยประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกในกลุ่มให้ ความสำคัญกับเงื่อนเวลาดังกล่าวด้วย  เพราะการอนุญาตจดทะเบียนแต่ละครั้งผ่านขั้นตอนการนำเสนอและการพิจารณาที่ กวดขันและรัดกุมเพื่อการจัดระบบแรงงานต่างด้าวฯ  เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการที่สำคัญจำเป็นและขับเคลื่อนกลไก ทางการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศสำหรับการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงาน และการขาดแคลนแรงงานนั้น  กระทรวงแรงงานมีความยินดีร่วมรับฟัง แสวงหาแนวทางแก้ไขในลำดับต่อไปและตระหนักถึงปัญหาที่ประสบอยู่  อยากให้ทางกลุ่มกิจการประมงโดยเฉพาะสมาคมประมงแห่งประเทศไทย  สรุปตัวเลขความต้องการใช้แรงงานที่ชัดเจน  ตัวเลขแรงงานที่ยังขาดแคลนอยู่  เพื่อจะได้ร่วมกับที่จะหาแนวทางแก้ไข  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกมุมหนึ่งคือเรื่องความมั่นคงของประเทศก็เป็นเรื่อง สำคัญควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

ดังนั้น  กระทรวงแรงงานจึงยืนอยู่บนหลักการที่จะ “เปิดประตู-ปิดหน้าต่าง” เพื่อการจัดระบบแรงงานต่างด้าวอย่างยั่งยืน ทำอย่างไรให้แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีอยู่ใต้ดินขึ้นมาสู่บนดิน ทำ อย่างไรให้แรงงานที่ผิดกฎหมายจัดระบบสู่การจ้างงานที่ถูกกฎหมายที่จะสามารถ ควบคุมดูแลรวมถึงการคุ้มครองแรงงานเหล่านั้นตามหลักแห่งสิทธิมนุษยชน เราต้องก้าวข้ามปัญหาที่ถูกมองว่า “ค้ามนุษย์” โดยสร้างหลักการจัดการที่ชัดเจนให้สังคมโลกได้เห็นถึงการดูแลแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องและสมควร  โอกาสนี้  นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้ นำเสนอว่าควรจะมีการออกแบบสัญญาการจ้างงานที่ชัดเจน  เพราะที่ผ่านมาหลักฐานการจ้างงานหรือจ่ายเงินมักจะใช้วิธีแบบดั้งเดิมที่มี การจดลงสมุดบัญชี  ควรจะมีการทำเอกสารในลักษณะสัญญาการจ้างงาน  เป็นต้น

ในวันที่ 20  กรกฎาคม  2554  ทางสมาคมประมงแห่งประเทศไทย จะมีการประชุมจะได้นำประเด็นการหารือในวันนี้เสนอต่อที่ประชุม จะได้นำข้อหารือในวันนี้ อาทิ ตัวเลขโควต้าหรือความต้องการจ้างงานที่ชัดเจนในกิจการประมงและต่อเนื่อง  แนวทางการหาแรงงานทดแทนการนำนโยบายของรัฐเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำว่าหากว่าใน กิจการประมงและต่อเนื่องจ้างแรงงานไทยในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะมีแรงงานไทยสนใจทำงานหรือไม่

ที่มา: http://www.mol.go.th

 
Copyright © 2024. Anti Labor Trafficking - โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน.